อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ประวัติความเป็นมาของอำเภอปากช่อง

อำเภอปากช่อง

    1. ข้อมูลทั่วไป

      อำเภอปากช่อง ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2500 เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 85 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 171 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,825.168 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,040,312.50 ไร อำเภอปากช่องมีประชากรทั้งสิ้น 183,754 คน เป็นชาย 91,501 คน เป็นหญิง 92,253 คน จำนวนครัวเรือน 44,250 ครัวเรือน

    2. อาณาเขตติดต่อ

      ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสีคิ้วและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
      ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

    3. ประวัติความเป็นมาของอำเภอปากช่อง

      1. กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมู่บ้านเล็กๆ บ้านหนึ่งอยู่ในหุบเขา ซอกภูเขาดงพญาไฟ เส้นทางคมนาคมสะดวกมากทุกสาย (เดินและขี่ม้า เลือกเอา) พื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น อีเก้ง , กวาง , เสือ , สิงห์ , กระทิง , แรด , ช้าง , ลิง , ค่าง อีกทั้งไข้ป่าครบถ้วน โดยเฉพาะไข้มาเลเรีย (พันธุ์เดียวกับเกาะกูด จ.ตราด) ชาวปากช่องรุ่นบุกเบิกล้มตายเกือบหมดหมู่บ้าน หลงเหลือรอดตายมาได้ตำบลขนงพระ ตั้งรกรากจนถึงทุกวันนี้ ไม่กี่หลังคาเรือนเมื่อ พ.ศ. 2430 ชาวบ้านปากช่องขึ้นกับอำเภอจันทึก พอปี พ.ศ. 2434 สมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ ไทยผู้มีอัจฉริยะเป็นเลิศ เป็นพระกรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น โปรดเกล้าให้สร้างทางรถไฟ จากกรุงสยาม ไปยังหัวเมืองโคราช ซึ่งจำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวาง รางรถไฟ ยาวเป็นช่องทาง เรียกว่า “บ้านปากช่อง” ตั้งแต่นั้นมา จนปี พ.ศ. 2482 ทางการสั่งยุบ ตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก ให้บ้านปากช่องไปขึ้นกับ ตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้ว.. (ตำบลจันทึก ขณะนี้อยู่ใต้บาดาลในเขื่อนอ่างเก็บน้ำลำตะคอง )
      2. ปี พ.ศ. 2492 บ้านปากช่องจึงได้รับการยกฐานะเป็น ตำบลปากช่อง ตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. 2499 รัฐบาลไทยจับมือกับสหรัฐ สร้างถนนมิตรภาพ ตั้งแต่สระบุรีจนถึงโคราชมอบให้ นับว่าเป็นถนนมาตรฐานชั้นหนึ่ง ทำให้ ตำบลปากช่อง เจริญอย่างรวดเร็ว ทางการจึงยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอปากช่อง เป็นกิ่งได้เพียง 6 เดือน ชาวไทยทั่วทุกภาคหลั่งไหลเข้ามาขุดทองทำไร่เลื่อนลอย และเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก จึงรับการยกฐานะเป็นอำเภอปากช่อง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ช่วงนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ให้สร้างวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตัดถนน ธนะรัชต์เป็นแหล่งท่องเที่ยว จนต่อมาเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 ยกฐานะเป็น “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” ชาวไทยและชาวต่าง ประเทศมาเที่ยวกันจำนวนมาก และได้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก เพื่อนุรักษ์ไว้ตลอดกาล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543
    4. ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ อำเภอปากช่อง

      1. เมื่อ พุทธศักราช 2430 ชาวบ้านปากช่องขึ้นกับ ต.ขนงพระ อ.จันทึก ต่อมาปีพ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ -โคราช สร้างทางผ่านกลางหมู่บ้าน จำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ จึงทำให้หมู่บ้านถูกระเบิดหินทำทางรถไฟเป็นช่อง จึงเรียกว่า “บ้านปากช่อง”
      2. เมื่อ พุทธศักราช 2482 ทางการสั่งยุบ ต.ขนงพระ อ.จันทึก ให้บ้านปากช่องไปขึ้นกับตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้ว
      3. เมื่อ พุทธศักราช 2492 บ้านปากช่องได้รับการยกฐานะเป็นตำบลปากช่อง
      4. วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง
      5. วันที่ 1 มกราคม 2500 ตั้งกิ่งอำเภอปากช่อง โดยแยกตำบลปากช่อง ตำบลจันทึก ตำบลกลางดง และตำบลหมูสี ออกจากอำเภอสีคิ้ว
      6. เมื่อ พุทธศักราช 2500 ทหารสหรัฐอเมริกาเข้ามาฝึกซ้อมรบในประเทศไทย ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ก่อสร้างถนนเฟรนชิป หรือถนน “มิตรภาพ” จากสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับมอบ
      7. วันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะเป็นอำเภอปากช่อง
      8. วันที่ 1 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลกลางดง
      9. วันที่ 15 กันยายน 2515 ตั้งตำบลขนงพระ โดยแยกออกจากตำบลปากช่อง
      10. วันที่ 15 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลหนองสาหร่าย โดยแยกออกจากตำบลจันทึก
      11. วันที่ 1 มิถุนายน 2520 ตั้งตำบลวังกะทะ โดยแยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย
      12. วันที่ 25 มิถุนายน 2524 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากช่อง เป็นเทศบาลตำบลปากช่อง
      13. วันที่ 1 พฤษภาคม 2525 ตั้งตำบลโป่งตาลอง โดยแยกออกจากตำบลหมูสี และ ตั้งตำบลคลองม่วง โดยแยกออกจากตำบลวังกะทะ
      14. วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลหนองน้ำแดง โดยแยกออกจากตำบลขนงพระ และ ตั้งตำบลวังไทร โดยแยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย
      15. วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลพญาเย็น โดยแยกออกมาจากตำบลกลางดง
      16. เมื่อ พุทธศักราช 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เสด็จประพาสนครราชสีมาโดยทางรถไฟ ขณะเสด็จผ่านสถานีรถไฟปากช่อง เสด็จพระราชดำเนินตลาดสุขาภิบาลปากช่อง และกองวัคซีน
      17. วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง
      18. วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง
    5. อำเภอปากช่องแบ่งเขตการปกครองท้องที่ออกเป็น 12 ตำบล 217 หมู่บ้านดังนี้

      1. ตำบลปากช่อง มีหมู่บ้าน 22 หมู่บ้าน
      2. ตำบลกลางดง มีหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน
      3. ตำบลหนองสาหร่าย มีหมู่บ้าน 25 หมู่บ้าน
      4. ตำบลหมูสี มีหมู่บ้าน 19 หมู่บ้าน
      5. ตำบลวังกะทะ มีหมู่บ้าน 24 หมู่บ้าน
      6. ตำบลคลองม่วง มีหมู่บ้าน 21 หมู่บ้าน
      7. ตำบลจันทึก มีหมู่บ้าน 22 หมู่บ้าน
      8. ตำบลขนงพระ มีหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน
      9. ตำบลโป่งตาลอง มีหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน
      10. ตำบลพญาเย็น มีหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน
      11. ตำบลหนองน้ำแดง มีหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
      12. ตำบลวังไทร มีหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน
    6. มีเทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 4 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 9 แห่ง ดังนี

      1. เทศบาลเมืองปากช่อง
      2. เทศบาลตำบลกลางดง
      3. เทศบาลตำบลสีมามงคล
      4. เทศบาลตำบลวังไทร
      5. เทศบาลตำบลหมูสี
      6. องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง
      7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย
      8. องค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ
      9. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองม่วง
      10. องค์การบริหารส่วนตำบลจันทึก
      11. องค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ
      12. องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งตาลอง
      13. องค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็น
      14. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำแดง
    7. สภาพทางเศรษฐกิจ

      1. ด้านเกษตรกรรม
        อำเภอปากช่องมีพื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 553,337 ไร่ ครอบครัวเกษตรกร จำนวน 12,690 ครอบครัว พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีทั้งผลไม้และพืชไร่ เช่น
        ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในปีการผลิต 2549/2550 อำเภอปากช่องมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งสิ้น 226,289 ไร่ เกษตรกร 6,939 ราย ผลผลิตเฉลี่ย 800 กก./ไร่ ปริมาณผลิตรวม 181,031 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,140,495,300 บาท
        มันสำปะหลัง ในปีการผลิต 2549/2550 อำเภอปากช่องมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง รวมทั้งสิ้น 72,682 ไร่ เกษตรกร 3,155 ราย ผลิตเฉลี่ย 4,500 กก./ไร่ ปริมาณผลผลิตรวม 327,069 ตัน คิดเป็นมูลค่า 392,482,800 บาท
        อ้อยโรงงาน ในปีการผลิต 2549/2550 อำเภอปากช่องมีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานรวมทั้งสิ้น 32,190 ไร่ เกษตรกร 528 ราย ผลผลิตเฉลี่ย 13,000 กก./ไร่ คิดเป็นมูลค่า 343,145,400 บาท
        ไม้ผลไม้ยืนต้น ได้แก่ น้อยหน่า,มะม่วง,มะขามหวาน มีพื้นที่ปลูกรวมกัน ประมาณ 153,755 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 139,494 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 10,169,640 บาท
      2. ด้านการปศุสัตว์

สัตว์ที่ เลี้ยงมีโคนม โคเนื้อ ไก่ เป็ด สุกร กระบือ แพะ แกะ กวาง นกกระจอกเทศ สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ ไก่ โคเนื้อ โคนม และสุกร

ลำดับ สัตว์เศรษฐกิจ จำนวนราย/ฟาร์ม/บริษัท จำนวน(ตัน) มูลค่า/ปี(บาท)
1 โคนม 1,362 43,260 294,564,600
2 โคเนื้อ 1,073 9,855 147,825,000
3 ไก่พื้นเมือง (เนื้อ) 3,358 71,169 7,828,590
4 ไก่พื้นเมือง(ไก่ชน) 1,874 39,288 7,857,600
5 ไก่เนื้อ(ไก่กระทง) 166 277,369 18,028,985
6 สุกร – 10  ฟาร์ม

– รายย่อย106ราย

119,861

3,454

335,610,800

9,671,200

รวม 123,315 345,282,000

3. ด้านอุตสาหกรรม
มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการจำนวน 58 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ โรงโม่หิน โรงงานผลิตเสบียงอาหารสัตว์

4. ด้านการพาณิชย์
– มีสถานบริการน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 21 แห่ง
– มีธนาคาร จำนวน 15 แห่ง
– มีสหกรณ์ จำนวน 10 แห่ง

5. ด้านการบริการ
– มีโรงแรมรีสอร์ท จำนวน 126 แห่ง
– มีสถานบริการและเริงรมย์ จำนวน 9 แห่ง
– มีสนามกอล์ฟ จำนวน 7 แห่ง

6. ด้านการท่องเที่ยว
– มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

7.สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ OTOP
– มีผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาว ได้แก่

ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์
ไส้กรอกปลาสมุนไพรคุณสุ กุนเชียงปลา
นายชรัต ลวิตรังสิมา (เจ๊ดากุนเชียง) กุนเชียงหมู
ไร่องุ่นสัตยา องุ่นปลอดสารพิษ

8. สภาพสังคม

8.1 ด้านการศึกษา
– มีโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 87 โรงเรียน
-สังกัดเอกชน จำนวน 17 โรงเรียน

8.2 ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
กลุ่มสนใจ 13 กลุ่ม
วิชาชีพระยะสั้น 11 กลุ่ม
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 37 แห่ง
ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง

8.3 การศึกษาอื่นๆ
โรงเรียนปริยัติธรรมแผนกรวม 2 แห่ง
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 12 แห่ง

8.4 การศาสนา
– การศาสนา ประชากรทั่วไปนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98 ศาสนา
อื่นประมาณร้อยละ 2
– วัด , ที่พักสงฆ์ จำนวน 185 แห่ง
– มัสยิด จำนวน 2 แห่ง
– ศาลเจ้า จำนวน 4 แห่ง

8.5 ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
– งานสงกรานต์
– งานลอยกระทง
– งานน้อยหน่าและของดีเมืองปากช่อง
– งานคาวบอยไนท์
– งานวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา ,วันวิสาขบูชา ,วันอาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา ,วันออกพรรษา

8.6 การสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
– โรงพยาบาล ขนาด 120 เตียง จำนวน 1 แห่ง
– สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
– สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 14 แห่ง
– ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 1 แห่ง
– สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง
– คลินิกเอกชน จำนวน 46 แห่ง
– ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 34 แห่ง
– อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 2,300 คน

8.7 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย
มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
– สถานีตำรวจภูธรอำเภอปากช่อง
– สถานีตำรวจภูธรตำบลกลางดง
– สถานีตำรวจภูธรตำบลหมูสี
– สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองสาหร่าย

9. ระบบบริการพื้นฐาน

อำเภอปากช่อง เป็นอำเภอที่มีการคมนาคมที่สะดวกอำเภอหนึ่งของจังหวัด
โดยแบ่งเป็นคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง จัดได้ว่าอยู่ในขั้นสะดวก มีทางรถไฟหลายสายวิ่งผ่าน ได้แก่ สายกรุงเทพมหานคร-นครราชีมา สายกรุงเทพมหานคร -อุบลราชธานี และสายกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ถนนสายสำคัญคือถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นถนนระดับประธาน เป็นถนนมาตรฐานการคมนาคมสะดวกสบายรวดเร็ว มีรถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งผ่านตลอดเวลา

9.1 การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
1. มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 2 แห่ง
2. มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีจำนวน 6,120 คู่สาย

9.2 การสาธารณูปโภค
1. หน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1 แห่ง
2. การประปาระดับอำเภอและตำบล/หมู่บ้าน
– การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง
– การประปาเทศบาล จำนวน 1 แห่ง
– การประปาหมู่บ้าน จำนวน 112 แห่ง
3. แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ ประเภทอื่น
– บ่อบาดาล จำนวน 793 แห่ง
– บ่อน้ำตื้น จำนวน 158 แห่ง
– ถังเก็บน้ำ จำนวน 112 แห่ง
– โอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 31,000 แห่ง

10. ทรัพยากรน้ำ

– การแบ่งกลุ่มน้ำของอำเภอปากช่อง แบ่งออกเป็น 3 สายดังนี้
1. ลุ่มน้ำลำตะคอง ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปสู่อ่างเก็บน้ำ
ลำตะคอง
2. ลำห้วยไหลลงคลองมวกเหล็กแบ่งเขตระหว่างอำเภอปากช่องกับ อำเภอมวกเหล็ก
3. ลำห้วยที่ไหลลงลำพระเพลิง แบ่งเขตระหว่างอำเภอปากช่องกับ อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปักธงชัย
– ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 – 1,300 มม. / ปี

11. ทำเนียบรายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ

ลำดับที่ชื่อ-สกุลระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1นายบรรยงก์ สู่พานิช18 ก.ย. 2500 - 30 พ.ย. 2506
2นายอนันต์ อนันตกูล6 ธ.ค. 2506 - 22 พ.ย. 2512
3นายจรินทร์ กาญจนโนทัย22 พ.ย. 2512 - 6 พ.ค. 2514
4นายวิโรจน์ อำมรัตน์27 พ.ค. 2514 - 9 พ.ค. 2516
5นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์17 พ.ค. 2516 - 18 พ.ค. 2518
6นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต1 ธ.ค. 2518 - 10 ต.ค. 2520
7ร.ต.ชวลิต วิบุลประพันธ์22 ต.ค. 2520 - 1 มิ.ย. 2522
8นายวิเชียร เขาอินทร์3 มิ.ย. 2522 - 22 ส.ค. 2523
9ร.ต.เสนาะ ทิพภยะ1 ก.ย. 2523 - 8 ต.ค. 2527
10นายบุญธรรม ใจรักพันธ์8 ต.ค. 2527 - 5 ต.ค. 2529
11นายไพบูลย์ จินดารัตน์6 ต.ค. 2529 - 22 ม.ค. 2530
12นายสมบัติ ภมรบุตร16 ต.ค. 2530 - 22 ม.ค. 2532
13นายพงศ์โพยม วาศภูติ23 ม.ค. 2532 - 15 ต.ค. 2532
14นายอาวุธ วิวัฒน์วานิช16 ต.ค. 2532 - 1 ก.ค. 2533
15นายวิสุทธิ์ ตุลสุข2 ก.ค. 2533 - 24 มี.ค. 2534
16นายปัญญารัตน์ ปานทอง25 มี.ค. 2534 - 20 ต.ค. 2534
17นายวิทยา ขิณฑะแพทย์11 พ.ย. 2534 - 5 ต.ค. 2535
18นายวีรวัฒน์ วรรณกูล12 ต.ค. 2535 - 16 ม.ค. 2537
19นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์17 ม.ค. 2537 - 13 ต.ค. 2539
20นายฐานิศร์ น้อยเพ็ง14 ต.ค. 2539 - 21 พ.ย. 2542
21นายพิบูลย์ชัย พันธุลี22 พ.ย. 2542 - 4 ก.พ. 2544
22นายไพบูลย์ ปัญจะ5 ก.พ. 2544 - 11 ต.ค. 2547
23นายสุพล ลีมางกูร1 พ.ย. 2547 - 25 ธ.ค. 2548
24นายประหยัด เจริญศรี26 ธ.ค. 2548 - 23 ต.ค. 2550
25นายคณีธิป บุณยเกตุ24 ต.ค. 2550 -23 ม.ค.2554
26นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ 2 พ.ค. 2554 - 14 ธ.ค. 2557
27นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว26 ม.ค. 2558 - 13 ต.ค. 2560
28นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ 16 ต.ค. 2560 - ปัจจุบัน

12. ภาพประวัติศาสต์อำเภอปากช่อง

อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2498 ประชาชนเฝ้ารับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อย่างล้นหลามที่สถานีรถไฟ ปากช่อง
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2498 ประชาชนเฝ้ารับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อย่างล้นหลามที่สถานีรถไฟ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราษฎร์ทางภาคอีสาน ในปี พ.ศ.2498 ในภาพราษฎร์กำลังถวายผลผลิตทางการเกษตรให้ในหลวง ขณะรถไฟพระที่นั่งแวะจอดที่สถานีรถไฟปากช่อง
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2498 ประชาชนเฝ้ารับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อย่างล้นหลามที่สถานีรถไฟ ปากช่อง
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2498 ประชาชนเฝ้ารับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราษฎร์ทางภาคอีสาน ที่สถานีรถไฟปากช่อง โคราช เมื่อปี พ.ศ.2498

ภาพโขลงช้าง ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

โขลงช้าง ที่เขาใหญ่
โขลงช้าง ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภาพโดยคุณ มานพ กวินเลิศวัฒนา

แผนที่แสดงเขตอำเภอปากช่อง

แผนที่อำเภอปากช่อง

แผนที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปากช่อง แผนที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ภาพสวนสาธารณะเขาแคน

สวนสาธารณะเขาแคน ที่นี่ปากช่อง ภาพโดย คุณมานพ กวินเลิศวัฒนา
สวนสาธารณะเขาแคน ที่นี่ปากช่อง ภาพโดย คุณมานพ กวินเลิศวัฒนา

VDO นำเสนอสภาพทั่วไปของอำเภอปากช่อง

อ้างอิง www.nakhonratchasima.go.th/district/Pakchong.doc สืบค้น 13 มกราคม 2561

อำเภอปากช่อง บนวิกิพีเดีย สืบค้น 29 มกราคม 2561

ภาพปากช่องในอดีต จากเพจ โคราชในอดีต สืบค้น 29 มกราคม 2561

 ภาพเขาแคน ภาพช้าง จาก Facebook คุณ มานพ กวินเลิศวัฒนา สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2561